วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 2 มาราคม 2556 เวลา 12.20 น.


เหตุการณ์วันนี้


ขณะนี้มีสื่อปล่อยข่าวลือเรื่องดาวเคราห์น้อย 2012DA14 โหม่งโลกในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ทางเว็บขอชี้แจงว่า 2012DA14 ถูก NASA (ตัวจริง) จัดไว้ที่ระดับ 0 ในตารางทอริโน  ซึ่งเป็นระดับสึขาว ไร้อันตรายต่อโลก จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวนี้

    ตารางเทอริโน

    No Hazard
    (White Zone)

    0

    โอกาสของการปะทะเป็นศูนย์หรือต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และอาจหมายถึงวัตถุขนาดเล็กเช่นอุกกาบาตที่เผาไหม้จนหมดสิ้นในชั้นบรรยากาศ จึงไม่เกิดความเสียหาย
    Normal
    (Green Zone)

    1

    เป็นระดับปกติ ที่เกิดเสมอ ในเทหวัตถุที่มีวงจรประจำ และการเข้าใกล้โลกของเทหวัตถุนั้น  ไม่มีจุดใดที่ต้องสร้างความกังวลให้ประชาชน หลังจากนี้ จะมีการสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ และจะมีการประเมิณค่าเทอริโนอีกครั้ง ไปที่ระดับ  0
    Meriting Attention by Astronomers
    (Yellow Zone)

    2

    เป็นการค้นพบเทหวัตถุใกล้โลกดวงใหม่ ที่แนวโคจรของเทหวัตถุนั้นยังไม่ได้รับการคำนวนแน่นอนว่าจะย้อนกลับมาใกล้โลกอีกครั้งในอนาคตเมื่อใด นักดาราศาสตร์จะมีการคำนวนวงโคจรที่แน่ชัดต่อไป หลังจากนี้ จะมีการสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์ และจะมีการประเมิณค่าเทอริโนอีกครั้ง ไปที่ระดับ  0

    3

    แนวการเคลื่อนที่มีแนวโน้มใกล้โลกมากขึ้นจนได้รับความสนใจจับตาดูจากนักดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักการคำนวณปัจจุบันให้มีโอกาส 1% หรือมากกว่า ในการเข้าสู่บรรยากาศโลก จะมีการติดตามเฝ้าดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ เพื่อประเมิณและประกาศเป็นระดับ 0 ต่อไป โดยระยะการเข้าใกล้โลกในระดับที่ 3 นี้จะไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ระดับความอันตรายเฉพาะพื้นที่จำกัด

    4

    แนวการเคลื่อนที่มีแนวโน้มใกล้โลกมากขึ้นจนได้รับความสนใจจับตาดูจากนักดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักการคำนวณปัจจุบันให้มีโอกาส 1% หรือมากกว่า ในการเข้าสู่บรรยากาศโลก  จะมีการติดตามเฝ้าดูด้วยกล้องโทรทรรศน์ เพื่อประเมิณและประกาศเป็นระดับ 0 ต่อไป โดยระยะการเข้าปะทะตามระดับที่ 4 นี้จะไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ระดับของความอันตรายคือระดับภูมิภาค
    Threatening
    (Orange Zone)

    5

    แนวการเคลื่อนของเทหวัตถุ มีแนวโน้มใกล้โลกในระดับที่น่าห่วง ต้องการการประเมิณจากนักดาราศาสตร์เพื่อคำนวนโอกาสในการเข้าชน หากการเข้าใกล้ในลักษณะนี้จะเกิดภายในระยะ 10 ปี จะมีการแจ้งให้รัฐบาลเตรียมการรับมือ ระดับของความอันตรายคือระดับภูมิภาค

    6

    แนวการเคลื่อนของเทหวัตถุขนาดใหญ่ มีแนวโน้มใกล้โลกในระดับที่น่าห่วง ต้องการการประเมิณจากนักดาราศาสตร์เพื่อคำนวนโอกาสในการเข้าชน หากการเข้าใกล้ในลักษณะนี้จะเกิดภายในระยะ 10 ปี จะมีการแจ้งให้รัฐบาลสากลเตรียมการรับมือ ระดับของความอันตรายคือระดับโลก 

    7

    แนวการเคลื่อนของเทหวัตถุขนาดใหญ่ มีแนวโน้มใกล้โลกในระดับที่มีโอกาสชนสูงสุดในรอบศตวรรษ  ต้องการการประเมิณจากนักดาราศาสตร์เพื่อคำนวนโอกาสในการเข้าชนว่าจะเกิดแน่หรือไม่ มีการประกาศให้รัฐบาลทั่วโลกเตรียมการรับมือ ไม่ว่าผลการคำนวนโอกาสเข้าชนจะเป็นเช่นใด
    Certain Collisions
    (Red Zone)

    8

    การปะทะเกิดขึ้นแน่นอน และจุดตกหากเกิดขึ้นบนพื้นดินจะมีการทำลายล้างในระดับประเทศ หากตกใกล้ฝั่งจะเกิดสึนามิทำลายล้างเป็นบริเวณกว้าง ช่วงการปะทะแบบนี้อาจจะเกิดทุกๆรอบ 50-1000 ปี

    9

    การปะทะเกิดขึ้นแน่นอน และจุดตกหากเกิดขึ้นบนพื้นดินจะมีการทำลายล้างในระดับทวีปหรือระดับโลก  หากตกในมหาสมุทร ะเกิดสึนามิขนาดยักษ์ทำลายล้างเป็นบริเวณกว้างมาก  ช่วงการปะทะแบบนี้อาจจะเกิดทุกๆรอบ 10000-100000 ปี

    10

    การปะทะเกิดขึ้นแน่นอน และจุดตกไม่ว่าที่ใด จะเกิดการทำลายล้างอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางสายพันธุ์ หรือทำลาบล้างความศิวิไลซ์จนหมดสิ้นไปจากโลก รอบการเกิดอยู่ในช่วงหลายแสนปีลงมา 
  • 10.20น นราธิวาส ท้องฟ้ามีเมฆฝนมาก ฝนตกสลับหยุด อากาศเย็นและชื้นมาก
  • 02:00 พายุไซโคลนฟรีดา ลดความเร็วลมลงกลายเป็นพายุโซนร้อนแล้วใเวลานี้  ตำแหน่งยังอยู่ที่ประเทศนิวคาเลโดเนีย
  • 01:00 แผนที่อากาศของกรมอุตุ

แผ่นดินไหวในไทยและใกล้เคียง (จาก TMD)

  • ไม่มี

แผ่นดินไหวทั่วโลก ยกเว้นในไทยและใกล้เคียง (จาก USGS)

เมื่อ 10.21 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 7.70 กม.
เมื่อ 09.24 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.7 บริเวณ Libertador General Bernardo O’Higgins ประเทศชิลี ที่ความลึก 44.50 กม.
เมื่อ 09.00 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.9 บริเวณ ทางใต้ของ เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 41.10 กม.
เมื่อ 06.40 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 บริเวณ แถบเทือกเขาฮินดู คุช ประเทศอัฟกานิสถาน ที่ความลึก 141.80 กม.
เมื่อ 06.37 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.9 บริเวณ ตอนกลางของ แคลิฟอร์เนีย ที่ความลึก 12.30 กม.
เมื่อ 03.05 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ เกาะซิเมลู ประเทศอินโดนีเซีย ที่ความลึก 38.30 กม.
เมื่อ 02.34 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.5 บริเวณ ทางใต้ของ อลาสกา ที่ความลึก 4.70 กม.
เมื่อ 01.49 ตามเวลาไทย เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.2 บริเวณ ตอนกลางของ อลาสกา ที่ความลึก 114.00 กม.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น